สมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน (ประเทศไทย) ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี

หลักสูตร : บุคลากรเฉพาะรับผิดชอบความปลอดภัยการเก็บรักษาวัตถุอันตราย

       ตามที่กรมโรงงานอุตสาหกรรม ได้ออกประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง การกำหนดให้สถานประกอบการวัตถุอันตรายมีบุคลากรเฉพาะรับผิดชอบความปลอดภัยการเก็บรักษาวัตถุอันตรายที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมรับผิดชอบ พ.ศ. 2551 ได้กำหนดให้บุคลากรเฉพาะคือผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบด้านความปลอดภัยใน เรื่องการเก็บรักษาวัตถุอันตราย จะต้องสอบผ่านการทดสอบวัดความรู้หลักสูตรความปลอดภัยการเก็บรักษาวัตถุ อันตรายตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมกำหนด


ผู้ประกอบการวัตถุอันตรายที่ต้องมีบุคลากรเฉพาะประจำสถานที่เก็บรักษาวัตถุอันตราย
ได้แก่ผู้ประกอบการที่มีลักษณะเป็นไปตามข้อใดข้อหนึ่งดังต่อไปนี้ 

  • ผู้ผลิต ผู้นำเข้า หรือผู้ส่งออกวัตถุอันตราย ที่มีวัตถุอันตรายชนิดที่ 1 ชนิดที่ 2 หรือชนิดที่ 3 ปริมาณรวมตั้งแต่ 1,000 เมตริกตัน/ปี ขึ้นไป
  • ผู้มีไว้ในครอบครองวัตถุอันตรายที่มีพื้นที่การเก็บรักษาวัตถุอันตรายตั้งแต่ 300 ตารางเมตรขึ้นไป
  • ผู้ผลิต ผู้นำเข้า ผู้ส่งออก หรือผู้มีไว้ในครอบครองวัตถุอันตรายที่เป็นวัตถุไวไฟหรือวัตถุออกซิไดซ์และวัตถุเปอร์ออกไซด์

หน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ประกอบการวัตถุอันตราย

  1. ต้องจัดให้มีบุคลากรเฉพาะปฏิบัติงานประจำสถานที่เก็บรักษาวัตถุอันตรายและบุคลากรเฉพาะนั้นต้องไม่เป็นผู้ปฏิบัติงานในสถานประกอบการวัตถุอันตรายแห่งอื่น
  2. ต้องดำเนินการจัดหาบุคลากรเฉพาะแทนภายใน 90 วันนับตั้งแต่วันที่ทราบว่าบุคลากรเฉพาะถูกยกเลิกหนังสือรับรองการจดทะเบียน เสียชีวิต ลาออก หรือทุพพลภาพ แล้วแต่กรณี
  3. ต้องดำเนินการให้สถานที่เก็บรักษาวัตถุอันตรายมีความปลอดภัยตามประกาศกรมโรงงานอุตสาหกรรม เรื่อง คู่มือการเก็บรักษาสารเคมีและวัตถุอันตราย พ.ศ. 2550 หรือตามหลักเกณฑ์นานาชาติโดยความเห็นชอบจากกรมโรงงานอุตสาหกรรม
  4. ต้องรายงานและรับรองรายงานความปลอดภัยการเก็บรักษาวัตถุอันตรายทุก 1 ปี

คุณสมบัติของบุคลากรเฉพาะฯ

  • สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีที่หลักสูตรกำหนดให้เรียนวิชาเคมีไม่น้อยกว่า 8 หน่วยกิต หรือสำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับมัธยมศึกษาตอนปลายและมีประสบการณ์หน้าที่ประจำ
  • โรงงานอุตสาหกรรมกำหนดโดยได้คะแนนในการทดสอบ ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80 ซึ่งผู้ที่จะทำหน้าที่เป็นบุคลากรเฉพาะปฏิบัติงานประจำสถานที่เก็บรักษาวัตถุอันตรายจำเป็นต้องมีคุณสมบัติทั้ง 2 ข้อ จึงจะสามารถขึ้นทะเบียนกับกรมโรงงานอุตสาหกรรมได้ผ่านการทดสอบวัดความรู้ตามหลักสูตรความปลอดภัยการเก็บรักษาวัตถุอันตรายที่กรม

หน้าที่และความรับผิดชอบของบุคลากรเฉพาะ

  • ปฏิบัติงานให้สถานที่เก็บรักษาวัตถุอันตรายมีความปลอดภัยตามประกาศกรมโรงงาน เรื่อง คู่มือการเก็บรักษาสารเคมีและวัตถุอันตราย พ.ศ. 2550 หรือตามหลักเกณฑ์นานาชาติโดยความเห็นชอบจากกรมโรงงานอุตสาหกรรม
  • จัดทำแผนความปลอดภัยการเก็บรักษาวัตถุอันตรายประจำปีเก็บไว้
  • จัดทำและรับรองรายงานความปลอดภัยการเก็บรักษาวัตถุอันตราย
  • ทำหน้าที่ให้ข้อมูลที่ถูกต้องต่อกรมโรงงานอุตสาหกรรม กรณีที่เกิดอุบัติภัยจากสถานที่เก็บรักษาวัตถุอันตราย

             หลักสูตรนี้จึงจัดขึ้นมาเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมสำหรับบุคลากรเฉพาะรับผิดชอบความปลอดภัยการเก็บรักษาวัตถุอันตราย ก่อนเข้ารับการทดสอบตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง การกำหนดให้สถานประกอบการ วัตถุอันตรายมีบุคลากรเฉพาะรับผิดชอบความปลอดภัยการเก็บรักษาวัตถุอันตราย ที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมรับผิดชอบ พ.ศ. 2551

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับความปลอดภัยในการเก็บรักษาวัตถุอันตราย
  2. เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมเตรียมความพร้อมก่อนเข้ารับการทดสอบตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง การกำหนดให้สถานประกอบการ วัตถุอันตรายมีบุคลากรเฉพาะรับผิดชอบความปลอดภัยการเก็บรักษาวัตถุอันตราย ที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมรับผิดชอบ พ.ศ. 2551


กลุ่มเป้าหมาย

  1. ผู้ที่สนใจทั่วไป
  2. ผู้ที่ต้องการทดสอบตามกฎเกณฑ์ของกรมโรงงานฯ

ระยะเวลาการอบรม

  • 1 วัน (6 ชั่วโมง)

ราคาค่าอบรม

(ยังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%)
  • 2,000 บาท

  • 1,800 บาท (สมาชิกสมาคม)

เอกสารที่เกี่ยวข้อง

รายละเอียดหลักสูตร

วิธีการอบรม

  • การบรรยาย การทำกิจกรรมกลุ่ม การถาม-ตอบ

วิทยากร

  • นายสวินทร์ พงษ์เก่า

การแต่งกายผู้เข้าอบรม

  • แต่งกายสุภาพ เหมาะสม กางเกงขายาว รองเท้าหุ้มส้น / รองเท้าเซฟตี้  (ไม่อนุญาตให้ใส่กางเกงขาสั้น และรองเท้าแตะเข้าอบรมทุกกรณี)

เนื้อหาหลักสูตร

08.30-08.45 น. ลงทะเบียน
08.45-09.00 น. ทดสอบก่อนการอบรม
09.00-10.30 น. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสารเคมีอันตรายป้ายเตือนและฉลากที่ใช้ในการชี้บ่งสารเคมีอันตราย ระบบ GHS
 -การใช้ข้อมูลความปลอดภัยทางสารเคมี (MSDS)เพื่อการบริหารจัดการด้านความปลอดภัย
10.30-10.45 น. พัก
10.45-12.00 น. ข้อกำหนดและวิธีจัดเก็บสารอันตราย
 -ข้อกำหนดของสถานที่จัดเก็บ
 -ลักษณะของอาคารที่จัดเก็บ
 -วิธีการจัดเก็บแยกตามประเภทสารเคมี
12.00-13.00 น. พักทานอาหาร
13.00-14.30 น. การใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลในการทำงานสัมผัสกับสารเคมีอันตราย
การตอบโต้ภาวะฉุกเฉินกรณีสารเคมีหกรั่วไหล
 -การประเมินความเสี่ยง
 -การวางแผนก่อนเกิดเหตุการณ์
 -การควบคุมอัคคีภัยและการควบคุมการหกรั่ว
14.30-14.45 น. พัก
14.45-16.00 น. ทดสอบหลังจบการอบรม
16.00-16.30 น. เฉลย/ Q&A

ภาพกิจกรรมอบรม