บทความโดย...ประจวบ ผลิตผลการพิมพ์
http://prempapatblong.exteen.com
“ซ้อนท้ายจักรยานยนต์ ต้องใส่หมวกกันน็อค คนซ้อนไม่สวม-ปรับคนขับสองเท่า!” ...
ข่าวจากนสพ.เดลินิวส์ (19 มีค.50) ระบุว่า คณะรัฐมนตรี มีมติเห็นชอบตามที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ(บก.จร.)เสนอให้ แก้ไขเพิ่มเติมพรบ.จราจรทางบก เพิ่มโทษแก่คนขับขี่ในกรณีคนซ้อนท้ายไม่ได้สวมหมวกนิรภัยโดยจะต้องโดนปรับเหนาะๆ 1พันบาท( ปรับ 2เท่าจากกฎหมายปัจจุบันที่ปรับ 500บาท กรณีคนขับขี่ไม่ได้สวมหมวกกันน็อค)
ว่ากันว่าภายในปี2550นี่แหละ ที่จะมีการบังคับใช้กันครับ...แม้จะช้าอืดอาดไปหน่อย เมื่อเทียบกับความสูญเสียที่เกิดขึ้นไม่เว้นแต่ละวัน แต่ก็ยังดีกว่าปล่อยให้เสี่ยงเป็นเสี่ยงตายกันอยู่อย่างนี้ ทั้งๆที่นั่นเป็นเรื่องความปลอดภัยของลูกๆและของตนเองโดยแท้
ในขณะที่พรบ.จราจรทางบกพ.ศ.2522 ระบุไว้ในมาตรา122 “ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ และคนโดยสารรถจักรยานยนต์ต้องสวมหมวกที่จัดทำขึ้นโดยเฉพาะ เพื่อป้องกันอันตรายในขณะที่ขับขี่ และโดยสารรถจักรยานยนต์”
แต่เรื่องน่าเศร้าก็คือ เมื่อเรามองออกไปยังท้องถนน ภาพที่หาดูได้ยากก็คือ...เด็กๆที่นั่งซ้อนท้ายมอเตอร์ไซด์ โดยมีการสวมหมวกกันน็อก!
ทั้งๆที่อุบัติเหตุจากจักรยานยนต์ทำให้เด็ก( 0-15 ปี)ได้รับบาดเจ็บปีละ 1 ล้านคน โดยต้องนอนโรงพยาบาลปีละกว่า 1หมื่น2พันคน และ ตายปีละกว่า 450 คน โดยเด็กๆที่เสียชีวิตนั้น มีตัวเลขสูงถึง 99%ที่ไม่ได้สวมหมวกกันน็อก...( จากการสำรวจของโครงการเด็กไทยปลอดภัย รพ.รามาธิบดี พบว่าโรงเรียนในสังกัดกทม. 6 แห่ง จำนวน 9,822 คนนั้น 34%ต้องอาศัยจักรยานยนต์ไป-กลับ และ 70% ไม่ได้สวมหมวกกันน็อก ...ทั้งๆที่ ในจำนวน70%นี้ เคยเฉียดตายจากอุบัติเหตุจักรยานยนต์มาแล้ว เกือบ 8% )
ในหลายประเทศนั้น เด็กอายุต่ำกว่า 15ปี ห้ามซ้อนท้ายมอเตอร์ไซด์อย่างเด็ดขาดแต่ในบ้านเราด้วยความภาวะจำเป็นด้านเศรษฐกิจบวกกับความไม่พร้อมด้านโดยสารสาธารณะ การบังคับไม่ให้เด็กนั่งซ้อนท้ายจึงเป็นไปได้ยาก
แต่นั่นก็ไม่น่าจะเป็นเหตุให้ผู้ใหญ่ใช้ยกเป็นข้ออ้าง ที่จะไม่ดิ้นรนจัดหาหมวกนิรภัยมาสวมใส่ให้แก่ลูกๆ ในเมื่อมีความจำเป็นต้องให้พวกเขาซ้อนท้ายมอเตอร์ไซด์
(กฎหมายของบ้านเราระบุเพียงห้ามมิให้เด็กอายุน้อยกว่า15 ปีขับขี่มอเตอร์ไซด์ แต่ท่านที่เดินทาง หรือพักอาศัยยังต่างจังหวัดก็คงทราบดีว่า ข้อห้ามนี้ใช้ได้ผลมากน้อยเพียงใด...)
กระทั่งชมรมเด็กไทยปลอดภัยฯ รพ.รามาธิบดี ได้ทำการวิจัย และจัดทำหมวกกันน็อกคุณภาพดีสำหรับเด็ก และนำออกแจกจ่ายให้แก่ชุมชนต่างๆในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด
แต่แล้วก็ต้องมาพบในภายหลังว่า...หมวกกันน็อกคุณภาพดีที่แจกฟรีนั้น แทบจะกลายเป็นของรกบ้านไปซะแล้ว และมีเด็กน้อยคนนักที่นำมาสวมใส่
หรือแม้แต่มีบางหน่วยงาน ที่พยายามรณรงค์ให้เห็นว่า
ผู้ใหญ่ที่ไม่จัดหาหมวกกันน็อกให้เด็กที่ต้องนั่งซ้อนท้ายมอเตอร์ไซด์นั้น
ถือได้ว่าเข่าข่าย “ทารุณกรรมลูก”(ทางอ้อม)
เพราะกระทำผิดตามพรบ. คุ้มครองเด็ก มาตรา26 ฐานละเลย
กระทำสิ่งที่จำเป็นต่อการป้องกันอันตรายต่อเด็ก
แต่ผลที่ได้รับกลับคือ ความเพิกเฉยเย็นชาของทั้งผู้ใหญ่ที่ขับขี่มอเตอร์ไซด์
และหน่วยงานของรัฐที่มีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบ
จึงได้แต่ตั้งตารอให้แก้ไขพรบ.ฉบับนี้ให้คลอดโดยเร็ว
(โดยไม่แท้ง หรือตายท้องกลมไปซะก่อน)แล้วก็หวังไว้ว่าผู้ที่มีหน้าที่ดูแลจะเข้มงวดจริงจัง
ในบ้านเราที่มีผู้คนจำนวนไม่น้อย ต้องปวดร้าวใจจนน้ำตาแทบเป็นสายเลือด จากการสูญเสียคนที่ตนรักยิ่งกว่าชีวิต เพราะอุบัติเหตุจักรยานยนต์...คุณเกษม ก็เป็นอีกผู้หนึ่งจมอยู่กับความทุกข์อย่างใหญ่หลวง เพราะลูกสาววัยเพียง 2 ขวบต้องเสียชีวิตเพราะซ้อนมอเตอร์ไซด์ของญาติ แล้วถูกรถกระบะเฉี่ยวชน เป็นเหตุให้หนูน้อยหล่นจากเบาะมอเตอร์ไซด์ ศีรษะกระแทกพื้นและเสียชีวิตจากเลือดคั่งในสมอง ( ข่าวจาก นสพ.คมชัดลึก 30 สค.2548)
แม้วันนี้ความเสียใจจะยังไม่จางหายแต่สิ่งที่คุณเกษมมุ่งมั่นตั้งใจหลังจากที่ต้องสูญเสียลูกสาวก็คือ...การเดินเข้าไปแนะนำและตักเตือนทุกครั้งที่พบเห็นเด็กๆนั่งซ้อนท้าย
มอเตอร์ไซด์โดยไม่ได้สวมหมวกกันน็อก พร้อมทั้งยกกรณีอันน่าเศร้าสลดที่ตนเองได้รับ มาถ่ายทอดให้ผู้อื่นได้รู้ซึ้ง
เผื่อว่าผู้ใหญ่จะได้เกิดความกระตือรือร้น และป้องกันไว้ ก่อนที่จะสายเกินแก้ไข ซึ่งเราเองก็ขอให้กำลังใจ และขอแสดงความชื่นชมกับเจตนาในการทำประโยชน์ต่อส่วนรวมของคุณเกษม เพียงขอเสนอแนะเพิ่มเติมสักเล็กน้อยว่า หากเด็กอายุยังไม่ถึง 7 ขวบถ้าไม่จำเป็นจริงๆ ก็อย่าให้เด็กต้องเสี่ยงโดยนั่งซ้อนท้ายเลยนะครับ แม้ว่าจะสวมหมวกกันน็อกให้เขาก็ตาม หรือหากหลีกเลี่ยงไม่ได้จริงๆ ก็โปรดจัดหาหมวกกันน็อกที่มีคุณภาพ และมีขนาดที่เหมาะสมกับเด็กในแต่ละวัยด้วย ( กรณีนี้ห้ามซื้อ”เผื่อโต”โดยเด็ดขาด!)
( ขนาดที่เหมาะสมของหมวกกันน็อก ของเด็กแต่ละช่วงวัย...