ประวัติการก่อตั้งสมาคมฯ
ภายหลังจากที่ประเทศไทยได้มีการพัฒนาอุตสาหกรรม จนทำให้เกิดปัญหาสุขภาพอนามัยและความปลอดภัย ของคนงานขึ้น ซึ่งเห็นได้ค่อนข้างชัดเจนจากหลักฐานความเป็นมาในความเปลี่ยนแปลงของการพัฒนา ได้แสดงถึง ความมั่งคั่งของประเทศและประชาชน แต่ในทางกลับกันสิ่งนี้ก็แสดงถึงการขาดความเอาใจใส่ในการดูแลและการ บริหารจัดการความปลอดภัยของผู้เกี่ยวข้องอย่างเพียงพอ ดังนั้นสิ่งที่ติดตามมากับความมั่งคั่งดังกล่าว คือ อุบัติเหตุ และการเจ็บป่วยของคนทำงานทั้งหลายที่มีอัตราสูงขึ้นเป็นลำดับอย่างต่อเนื่อง
ปี พ.ศ. 2529 ประเทศไทยได้มีการจัดสัปดาห์ความปลอดภัยในการทำงานแห่งชาติ ขึ้นเป็นครั้งแรกในระ หว่างวันที่ 1 - 3 มิถุนายน 2529 ในครั้งนั้นคณะกรรมการการจัดงานสัปดาห์ความปลอดภัยในการทำงานแห่งชาติ เสนอว่า เห็นเป็นการสมควรที่จะให้มีการจัดตั้งสมาคมเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงานขึ้น และควรให้มีการจัดงานสัปดาห์ความปลอดภัยในการทำงานแห่งชาติต่อไปทุกปี โดยให้สมาคมที่จะจัดตั้งขึ้นนี้มีส่วนเข้าร่วมด้วยและมี กรมแรงงาน (ในขณะนั้น) เป็นผู้ประสานงาน
จากนั้นคณะรัฐมนตรีฯ ภายใต้การผลักดันของ ร้อยตำรวจโทชาญ มนูธรรม รัฐมนตรีประจำสำนักนายกฯ ใน ขณะนั้นได้มีมติให้ความเห็นชอบตามที่กรมแรงงานเสนอ ให้ก่อตั้ง “สมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน (ประเทศไทย)”
และได้ทำการจดทะเบียนก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2530 โดยมีคณะผู้ก่อตั้ง (ตำแหน่งในขณะนั้น) ดังนี้
![]() |
![]() |
![]() |
ร.ต.ท. ชาญ มนูธรรม รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี |
นายไพโรจน์ นิงสานนท์ ปลัดกระทรวงสาธาณสุข |
นายชำนาญ พจนา อธิบดีกรมแรงงาน |
![]() |
![]() |
|
นายพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา นายกสมาคมอุตสาหกรรมไทย |
นายอุดม วิทยะศิรินันท์ ประธานสภาองค์การนายจ้างแห่งประเทศไทย |
|
เมื่อก่อตั้งสมาคมฯ แล้ว คณะผู้เริ่มการสมาคมฯ ได้มอบหมายให้นายชำนาญพจนา อธิบดีกรมแรงงานในขณะ นั้น เป็นผู้จัดการสมาคมฯ คณะผู้เริ่มการสมาคมฯ ได้ประชุมครั้งแรกเมื่อวันที่ 23 กันยายน 2530 สรุปได้ว่า สมาคม ฯ ได้เปิดรับสมัครสมาชิกตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2530 มีสมาชิก ทั้งสิ้น 154 ราย สมาคมฯ ได้จัดประชุมใหญ่ครั้ง แรกเมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2530 โดยเลือกคณะกรรมการ 19 ท่าน ที่ประชุมกรรมการที่เลือกตั้งได้เลือกตั้ง ร.ต.ท. ชาญ มนูธรรม เป็นนายกสมาคมฯ และคณะกรรมการได้จัดประชุมครั้งแรกเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2530 เพื่อดำ เนินงานของสมาคมฯ ต่อไป
วัตถุประสงค์สมาคมฯ
1. ส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานและนอกงาน โดย
- การศึกษา การวิจัย การบริการวิชาการ การพัฒนาองค์ความรู้ และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
- การผลิต การเผยแพร่ ตำรา สื่อ สิ่งพิมพ์ ข้อมูลข่าวสาร และเอกสารวิชาการ
- การให้คำปรึกษาแนะนำ
- การแลกเปลี่ยนประสบการณ์
- การอบรม จัดสัมมนา การเรียนการสอน
- การให้บริการตรวจวัดสิ่งแวดล้อม
- การตรวจสอบระบบต่าง ๆ
- การปรับปรุงและพัฒนาองค์การ
2. รณรงค์ส่งเสริม เสริมสร้าง จิตสำนึกและวัฒนธรรม ด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานและนอกงาน โดยการจัดกิจกรรม การประกวดแข่งขัน และการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อต่างๆ
3. ส่งเสริมความร่วมมือ ประสานงาน และสร้างเครือข่ายกับหน่วยงานภาครัฐ องค์การเอกชน สถาบันต่าง ๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อพัฒนาเสริมสร้างองค์ความรู้และแนวทางปฏิบัติ ด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานและนอกงาน
4. ไม่ดำเนินการใด ๆ เกี่ยวกับการเมือง
5. ไม่มีนโยบายหรือเจตนาที่จะจัดโต๊ะบิลเลียดเพื่อการพนัน
การดำเนินงานในปัจจุบันของสมาคม
1. สมาคมฯ ได้จัดให้มีการเลือกตั้งคณะกรรมสมาคมฯ โดยมีลำดับนายกสมาคมฯ ดังนี้
![]() |
![]() |
![]() |
ร.ต.ท. ชาญ มนูธรรม (2530 - 2534) |
นายกระจ่าง ทิวะศะศิธร์ (2534 - 2536) |
นายชำนาญ พจนา (2536 - 2539) และ (2544 - 2546) |
![]() |
![]() |
![]() |
ศาสตราจารย์ศิริ เกวลินสฤษดิ์ (2539 - 2543) |
นายรังสฤษฏ์ จันทรัตน์ (2546 - 2549) |
นายฐาปบุตร ชมเสวี (2549 - 2553) |
![]() |
![]() |
![]() |
นายผดุงศักดิ์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา (2553 - 2557) |
ดร.ชัยยุทธ ชวลิตนิธิกุล (2557 - 2561) |
รศ.ดร.เฉลิมชัย ชัยกิตติภรณ์ (2561 - ปัจจุบัน) |
รางวัล...แห่งความภาคภูมิใจ
สมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน (ประเทศไทย) ในพระราชูปถัมภ์ ฯ ได้รับการรับรองระบบมาตรฐานการ บริหารบริหารงานคุณภาพ ISO 9001 Version 2000 Certificate Number : 74170 จากสถาบันรับรอง UNITED REGISTRAR OF SYSTEM (THAILAND)LTD. เมื่อวันที่ 17 มกราคม 2546 ซึ่งนับว่าเป็นสมาคม ส่งเสริมด้านความปลอดภัยของประเทศไทยรายแรก ที่ได้รับการรับรองมาตรฐานนี้ ซึ่งปัจจุบันได้รับการรับรองจาก BSI Certification Services ในระบบคุณภาพ ISO 9001:2015, ISO 29990:2010 และ ISO 45001:2018
นโยบายคุณภาพ SHAWPAT
“เป็นองค์กรที่มุ่งมั่นในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมใน การทำงาน โดยการให้บริการทางวิชาการ ฝึกอบรม และข้อมูลข่าวสารอย่างมีคุณภาพและมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อความพึงพอใจสูงสุดของผู้รับบริการ”
เข้าร่วมเป็นเครือข่ายสมาชิกองค์กรระดับชาติ
- APOSHO : Asia Pacific Occupational Safety and Health Organization
- JICOSH : Japan International Center for Occupational Safety and Health
- JISHA : Japan Industrial Safety and Health Association
- NSC : U.S. National Safety Council
สร้างสรรค์โครงการ และกิจกรรมด้านความปลอดภัยเพื่อสังคม
- กิจกรรมรณรงค์ 3 ป. ปลอดภัย
- กิจกรรมรณรงค์ ปลุกวัฒนธรรมเพื่อความปลอดภัย
- จัดตั้งโครงการ จป.อาสา เพื่อนช่วยเพื่อนสู่สังคม
ซึ่งเป็นการรวบรวมบุคคลากรด้านความปลอดภัยมาร่วมทำกิจกรรมด้านความปลอดภัยเพื่อสังคม โดยมีโครง การนำร่อง 2 โครงการ คือ จป.อาสาพัฒนาโรงเรียนปลอดภัย และสายใย จป.เพื่อนช่วยเพื่อน ได้มีการจัดประชุมการ ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ซึ่งปัจจุบันมีสมาชิกสมัครเข้าร่วมโครงการนี้กว่า 600 คน