การแต่งกายผู้เข้าอบรม : แต่งกายสุภาพ เหมาะสม กางเกงขายาว รองเท้าหุ้มส้น / รองเท้าเซฟตี้ (ไม่อนุญาตให้ใส่กางเกงขาสั้น และรองเท้าแตะเข้าอบรมทุกกรณี)
หลักการและเหตุผล
ผู้เฝ้าระวังไฟ หรือ Fire Watch Man นับมีความสำคัญและจำเป็นในกิจกรรมการดำเนินการในด้านต่างๆ เช่น กิจกรรมงานที่ทำให้เกิดประกายไฟ และเสี่ยงในการเกิดอัคคีภัยในกิจกรรมดังกล่าว และกิจกรรมต่างๆ ในกลุ่มงาน Oil and Gas และทั่วไป ซึ่งผู้เฝ้าระวังไฟ ก็ถือได้ว่ามีบทบาทสำคัญอย่างมาก ที่จะช่วยป้องกันอุบัติที่จะเกิดขึ้นจากกิจกรรมดังกล่าว ในด้านความรับผิดชอบดังกล่าวเช่น การตรวจวัดแก็สบริเวณทำงานและขณะทำงาน หรือการเฝ้าระวังลูกไฟ ขณะมีการเชื่อมและเจียร แม้กระทั้งเมื่อเกิดเหตุ ผู้เฝ้าระวังไฟก็จะสามารถปฏิบัติตนได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว ช่วยป้องกันและลดความเสียหายที่จะเกิดขึ้น
เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อม เพิ่มระดับความรู้ ความสามารถ และความเข้าใจอันดี ในการทำงานอย่างถูกต้องและปลอดภัย ป้องกันและลดความสูญเสียที่เกิดขึ้น ให้กับบริษัทและพนักงาน
สมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน (ประเทศไทย) ได้ตระหนักถึงความสำคัญดังกล่าวข้างต้น จึงจัดให้มีการฝึกอบรมหลักสูตร “ผู้เฝ้าระวังไฟ” ทั้งนี้เพื่อเป็นการพัฒนาคุณภาพผู้ปฏิบัติงาน และพัฒนาระบบมาตรฐานการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัยฯ ต่อไป
วัตถุประสงค์
- เพื่อให้พนักงานมีความรู้เกี่ยวกับการเกิด และการป้องกันอัคคีภัยที่จะเกิดขึ้นจากการทำงาน ประกายไฟ
- เพื่อให้พนักงานเข้าใจขั้นตอน และวิธีการปฏิบัติเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินจากอัคคีภัย
- เพื่อให้พนักงานใช้เครื่องดับเพลิง และอุปกรณ์ดับเพลิงอื่นๆ ได้อย่างถูกต้อง
- เพื่อให้พนักงานเข้าใจเกี่ยวกับข้อกำหนดในการทำงานเกี่ยวกับ ใบอนุญาตประกายไฟ
- เพื่อให้พนักงานมีความรู้ความเข้าใจในดารใช้เครื่องมือวัดสภาพอากาศ เช่นการวัดหาก๊าซ ไอ ละอองที่สามารถติดไฟได้
- เพื่อให้พนักงานตรวจสอบเครื่องมือและอุปรกรณ์ต่างได้อย่างถูกต้อง เพื่อเป็นการป้องกันอัคคีภัยที่จะเกิดขึ้นจากอุปกรณ์ดังกล่าว
คุณสมบัติผู้เข้ารับการอบรม
- พนักงานทั่วไป
- จำนวนผู้เข้ารับการอบรมทั้งภาคทฤษฎี และภาคปฏิบัติ ไม่เกิน 30 ท่านต่อรุ่น
วิทยากรที่บรรยาย นายปรีชา ศรีรุณ
ระยะเวลาในการฝึกอบรม
ลำดับ |
หลักสูตรการฝึกอบรม |
ระยะเวลาในการอบรม |
ภาคทฤษฏี |
ภาคปฏิบัติ |
1 |
ผู้เฝ้าระวังไฟ Fire Watch |
12 |
9 |
3 |
หัวข้ออบรม
ลำดับ |
หัวข้ออบรม |
ระยะเวลา |
1 |
คุณสมบัติและหน้าที่ของผู้เฝ้าระวังไฟ |
1 ชั่วโมง |
2 |
ความปลอดภัยในงานเชื่อม ตัด เจียร |
1 ชั่วโมง |
3 |
การป้องกันอัคคีภัยจากงานประกายไฟ |
1 ชั่วโมง |
4 |
อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล |
0.5 ชั่วโมง |
5 |
ป้ายสัญลักษณ์ความปลอดภัย |
0.5 ชั่วโมง |
6 |
ขั้นตอนปฏิบัติเมื่อเกิดเหตุกรณีฉุกเฉิน |
1 ชั่วโมง |
7 |
ประเภทของไฟ องศ์ประกอบไฟ การเกิดไฟ และการดับไฟประเภทต่างๆ |
1 ชั่วโมง |
8 |
อุปกรณ์ดับเพลิงอื่นๆและวิธีการใช้เครื่องดับเพลิง |
1 ชั่วโมง |
9 |
ระบบใบอนุญาติทำงานประกายไฟ และใบอนุญาติอื่นๆ |
1 ชั่วโมง |
10 |
การตรวจสอบอากาศในการทำงาน การตรวจสอบอุปกรณ์ เครื่องจักร และบริเวณทำงาน |
1 ชั่วโมง |
11 |
การฝึกภาคปฏิบัติการใช้เครื่องมือวัดแก็ส การตรวจสอบอุปกรณ์ การเฝ้าระวังประกายไฟ และฝึกการใช้ถังดับเพลิง |
3 ชั่วโมง |
วันเวลา |
หัวข้ออบรม |
วิทยากร |
วันแรก ภาคทฤษฎี 09.00 - 10.00 10.00 - 11.00 11.00 - 12.00 |
-ทำแบบทดสอบ PRE-TEST -คุณสมบัติและหน้าที่ของผู้เฝ้าระวังไฟ -ความปลอดภัยในงานเชื่อม ตัด เจียร -การป้องกันอัคคีภัยจากงานประกายไฟ |
อ.ปรีชา ศรีรุณ
|
12.00 - 13.00 |
พักรับประทานอาหาร |
|
13.00 - 13.30 13.30 - 14.00 14.00 - 15.00 15.00 - 16.00 |
-อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล -ป้ายสัญลักษณ์ความปลอดภัย -ขั้นตอนปฏิบัติเมื่อเกิดเหตุกรณีฉุกเฉิน -ประเภท องศ์ประกอบ การเกิด และการดับไฟ |
อ.ปรีชา ศรีรุณ
|
วันสอง ภาคทฤษฎี 09.00 - 10.00 10.00 - 11.00 11.00 - 12.00 |
-อุปกรณ์ดับเพลิงอื่นๆและวิธีการใช้เครื่องดับเพลิง -ระบบใบอนุญาติทำงานประกายไฟ และใบอนุญาติอื่นๆ -การตรวจสอบอากาศในการทำงาน การตรวจสอบอุปกรณ์ เครื่องจักร และบริเวณทำงาน |
อ.ปรีชา ศรีรุณ
|
12.00 - 13.00 |
พักรับประทานอาหาร |
|
13.00 - 16.00 |
-การฝึกภาคปฏิบัติการใช้เครื่องมือวัดแก็ส การตรวจสอบอุปกรณ์ทำงาน การเฝ้าระวังประกายไฟ และฝึกการใช้ถังดับเพลิง |
อ.ปรีชา ศรีรุณ
|
วิธีการ/เทคนิคในการฝึกอบรม
- บรรยาย
- การฝึกปฏิบัติ
วิธีการประเมินผลและเกณฑ์การวัดผล
- การทำกิจกรรมในระหว่างการอบรม
สิ่งที่ได้รับหลังการอบรม
- วุฒิบัตรผ่านการอบรม