

1.หลักการและเหตุผล
จากข้อมูลสถิติของกองทุนเงินทดแทนพบว่า สถานประกอบกิจการที่ประสบอันตรายสูงสุดในแต่ละปี ได้แก่ “กิจการประเภทก่อสร้าง” ซึ่งการประสบอันตรายดังกล่าวมาจากหลายสาเหตุด้วยกัน โดย เฉพาะอย่างยิ่ง ผู้ปฏิบัติงาน จะประสบอุบัติเหตุมากที่สุด โดยเฉพาะผู้รับเหมาใน site งาน
การป้องกันอุบัติเหตุร้อยเปอร์เซ็นต์นั้นเป็นไปไม่ได้ แต่การลดอุบัติเหตุให้น้อยลงที่สุดนั้นสามารถกระทำได้ สิ่งตอบแทนจากการป้องกันอันตรายนั้น ก็คือ การสูญเสียน้อยที่สุด งานที่ก่อสร้างก็จะดำเนินการไปได้อย่างรวดเร็วที่สุด และนั้นก็หมายถึงผลตอบแทนที่ดีที่สุดต่อทุก ๆ คน ในกิจกรรมการก่อสร้าง
เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพ หรือผู้ควบคุมงานก่อสร้าง จึงเป็นบุคคลากรสำคัญในการคอยดูแลและป้องกันไม่ให้เกิดอุบัติเหตุจากการทำงาน และให้ปฏิบัติไปตามที่กฎหมายกำหนด จึงเป็นต้องพัฒนาทักษะเทคนิคความปลอดภัยในงานก่อสร้าง เพื่อนำไปบริหารงานให้เกิดประสิทธิภาพกับองค์กรต่อไป
2.วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้จป.วิชาชีพ และผู้ควบคุมงานก่อสร้างได้มีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องความปลอดภัยในงานก่อสร้าง
2. เพื่อให้จป.วิชาชีพ และผู้ควบคุมงานก่อสร้างรู้จักวิธีการค้นหาอันตรายและป้องกันอันตรายในงานก่อสร้าง
3. เพื่อให้จป.วิชาชีพ และผู้ควบคุมงานก่อสร้างแนวทางในการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในงานก่อสร้างของบริษัท
4. เพื่อให้จป.วิชาชีพ และผู้ควบคุมงานก่อสร้างผู้เป็นผู้นำในการรณรงค์และร่วมทำกิจกรรมด้านความปลอดภัยกับองค์กร
3.คุณสมบัติผู้เข้ารับการอบรม/กลุ่มเป้าหมาย
1. จป.วิชาชีพ / จป.เทคนิคขั้นสูง ที่มีประสบการณ์ในงานก่อสร้างตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป
2. วิศวกรโครงการก่อสร้าง
3. อาจารย์มหาวิทยาลัย
4.วิทยากรบรรยาย
วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิและวิทยากรผู้เชี่ยวชาญด้านงานก่อสร้าง
5.ระยะเวลาอบรม
5 วัน (30 ชั่วโมง)
6.หัวข้อบรรยาย
เวลา
|
กิจกรรม/หัวข้ออบรม
|
หมายเหตุ
|
วันที่ 1
|
08.30–09.00 น.
|
ลงทะเบียน / ทำแบบทดสอบก่อนการอบรม (Pre-Test)
|
|
09.00-16.30 น.
|
ความรู้เบื้องต้นสำหรับสถานประกอบกิจการก่อสร้าง
- ลักษณะสถานประกอบกิจการก่อสร้าง
- ขั้นตอนเบื้องต้นสำหรับงานก่อสร้าง
- ประเภท/ภาคส่วน ในการดำเนินงานก่อสร้าง
|
|
|
กฎหมาย และ ข้อกำหนด ที่เกี่ยวข้องกับงานก่อสร้าง
- กฎหมายความปลอดภัยที่เกี่ยวข้องสำหรับงานก่อสร้าง
- ข้อกำหนด อื่นๆ เช่น การนิคมฯ, องค์กรปกครองท้องถิ่น, กทม, อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
- เทคนิคการจัดทำบัญชีกฎหมาย และข้อกำหนด ที่เกี่ยวข้องกับงานก่อสร้าง
- การประเมินความสอดคล้องระหว่าง โครงการก่อสร้าง กับ กฎหมาย และข้อกำหนด
- เทคนิคการนำเสนอกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ต่อผู้บริหารขององค์กร, บริษัท, และโครงการก่อสร้าง
- แนวทางการแก้ไขปัญหา กรณีโครงการก่อสร้าง ขัดต่อกฎหมาย และข้อกำหนด
- การทบทวนกฎหมาย และข้อกำหนด ให้ทันสมัย
- แหล่งสืบค้นข้อมูลกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และ องค์กรรับปรึกษาหารือ เกี่ยวกับกฎหมาย และข้อกำหนด
|
|
วันที่ 2
|
08.30–09.00 น.
|
ลงทะเบียน
|
|
09.00-16.30 น.
|
เทคนิคการจัดทำแผนงานความปลอดภัยของโครงการก่อสร้าง
- ที่มา และความหมายของแผนงานความปลอดภัยของโครงการก่อสร้าง
- องค์ประกอบเบื้องต้น สำหรับแผนงานก่อสร้างความปลอดภัยของโครงการก่อสร้าง
- เทคนิคการจัดทำแผนความปลอดภัยของโครงการก่อสร้างโครงการก่อสร้าง
- การประยุกต์ใช้ แผนงานความปลอดภัยของโครงการก่อสร้าง จากหน่วยงานอื่นๆ
- เทคนิคการนำเสนอแผนงานความปลอดภัยของโครงการก่อสร้าง ให้กับผู้บริหารโครงการก่อสร้าง
- การนำแผนงานไปใช้ให้สอดคล้องกับโครงการก่อสร้างการทบทวน แก้ไข ปรับปรุง แผนงานความปลอดภัยของโครงการก่อสร้าง ให้สอดคล้องกับโครงการก่อสร้าง
|
|
|
เทคนิคการจัดทำมาตรฐาน (Standard), ระเบียบการ (Procedure), ข้อบังคับ (Safety Precaution) ด้านความปลอดภัยในงานก่อสร้าง
- ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ มาตรฐาน (Standard), ระเบียบการ (Procedure), ข้อบังคับ (Safety Precaution) ด้านความปลอดภัยในงานก่อสร้าง
- ตัวอย่างของ มาตรฐาน (Standard), ระเบียบการ (Procedure), ข้อบังคับ (Safety Precaution) ด้านความปลอดภัยในงานก่อสร้าง
- เทคนิคการใช้ มาตรฐาน (Standard), ระเบียบการ (Procedure), ข้อบังคับ (Safety Precaution) ด้านความปลอดภัยในงานก่อสร้าง
- เทคนิคการนำเสนอ มาตรฐาน (Standard), ระเบียบการ (Procedure), ข้อบังคับ (Safety Precaution) ด้านความปลอดภัยในงานก่อสร้าง ให้กับผู้บริหารโครงการ
- เทคนิคการนำ มาตรฐาน (Standard), ระเบียบการ (Procedure), ข้อบังคับ (Safety Precaution) ด้านความปลอดภัยในงานก่อสร้าง มาใช้กับกิจกรรมงานก่อสร้าง
- การศึกษา และตรวจสอบ ลำดับขั้นตอนในงานก่อสร้างสร้าง (Work Method Statement (WMS))
|
|
|
การประเมินความเสี่ยง และมาตรฐานขั้นตอนการทำงานอย่างปลอดภัย
- ความหมายของการประเมินความเสี่ยง และมาตรฐานขั้นตอนการทำงานอย่างปลอดภัย
- การจัดทำบัญชีความเสี่ยง ของกิจกรรมในงานก่อสร้าง
- เทคนิคการประเมินความเสี่ยง ในงานก่อสร้าง
- เทคนิคการจัดทำแผนลดความความเสี่ยง
- เทคนิคการวิเคราะห์งานเพื่อความปลอดภัย (JSA, JSEA, What if analysis, อื่นๆ)
- เทคนิคการจัดทำขั้นตอนการทำงานอย่างปลอดภัย สำหรับกิจกรรมงานก่อสร้าง
- เทคนิคการนำเสนอผลการประเมินความเสี่ยง และขั้นตอนการทำงานอย่างปลอดภัย ให้ผู้บริหารโครงการก่อสร้างพิจารณา
- เทคนิคการนำผลการประเมินความเสี่ยง และขั้นตอนการทำงานอย่างปลอดภัย ไปประยุกต์ใช้กับสภาพหน้างาน
- การทบทวนการประเมินความเสี่ยง และขั้นตอนความปลอดภัยในการทำงาน เมื่อมีเหตุจำเป็น เช่น เกิดอุบัติเหตุ, พบความเสี่ยงที่มากขึ้นกว่าเดิม เป็นต้น
|
|
วันที่ 3
|
09.00-16.30 น.
|
ทักษะการทำงาน ตำแหน่ง จป. ในโครงการก่อสร้าง
- งานปรับพื้นที่
|
- งานตอกเสาเข็ม
|
- งานปรับพื้นที่
|
- งานทำฐานราก
|
- งานหลังคา
|
- งานผนัง
|
- งานเทพื้นอาคาร
|
- งานเทพื้นอาคาร
|
- งานเทพื้นอาคาร
|
- งานถนน, รางระบายน้ำ
|
- งานเก็บรายระเอียด เช่น ทาสี
|
- งานไฟฟ้า
|
- งานท่อน้ำ, ระบบดับเพลิง
|
- งานติดตั้งเครื่องจักร, ไลน์ผลิต
|
- งานทดสอบเครื่องจักร
|
- อื่นๆ
|
|
|
|
เครื่องมือ เครื่องจักร พื้นฐานสำหรับงานก่อสร้าง และเอกสารสำหรับการตรวจสอบ Inspection check sheet
- เครื่องจักรกลหนัก และการตรวจสอบ
|
- เครื่องตอกเสาเข็ม
|
- ปั้นจั่นหรือ เครน และการตรวจสอบ
|
- รอกโซ่ รอกปรับระดับ
|
- ประเภทของอุปกรณ์ช่วยยก
|
- รถกระเช้า X lift, Boom lift, Man lift
|
- นั่งร้านประเภท ต่าง ๆ
|
- เครื่องเชื่อมประเภท ต่าง ๆ
|
- เครื่องเจียร
|
- เครื่องตัดความเร็วสูง
|
- เครื่องตัด ดัด เหล็ก
|
- ชุดตัดแก๊ส
|
- เครื่องมือไฟฟ้า และมาตรฐาน
|
- อุปกรณ์ป้องกันการตก
|
- Gas detector
|
- ฝาครอบท่อป้องกันประกายไฟ
|
- อื่นๆ
|
|
|
วันที่ 4
|
09.00-16.30 น.
|
เทคนิคการตรวจความปลอดภัยหน้างาน ภายในโครงการก่อสร้าง
- ตรวจสอบใบอนุญาตทำงาน
- ตรวจสอบตัวผู้ปฏิบัติงานงาน เช่น บัตรผ่านการอบรม, สัญลักษณ์ตำแหน่งพิเศษ, การสวมใส่ PPE
- ตรวจสอบกิจกรรมงานก่อสร้าง
- งานขุด งานใช้เครื่องจักรกลหนัก
- งานยกด้วยเครน, และอุปกรณ์ช่วยยก
- งานใช้รอกโซ่, รอกปรับระดับ
- งานเชื่อม ตัด เจียร์
- งานติดตั้ง รื้อถอนนั่งร้าน
- การทำงานบนที่สูง
- การทำงานบนรถกระเช้า หรืออุปกรณ์อื่น
- การทำงานในที่อับอากาศ
- การทำงานกับอุปกรณ์ไฟฟ้า
- งานฉายรังสี
- การปิดกั้นพื้นที่ และป้ายเตือน
- งานใช้สารเคมี เช่น เติมน้ำมัน, ผสมสี, ทาสี
- ตรวจสอบสภาพแวดล้อมในการทำงาน เช่น เสียง, ฝุ่น, ความร้อน (กรณีกลางแจ้ง) พื้นที่ทิ้งขยะ, พื้นที่สูบบุหรี่, พื้นจัดเก็บสารเคมี เป็นต้น
- ตรวจสอบการเตรียมความพร้อมเหตุฉุกเฉิน เช่น จุดรวมพล, ป้ายทางหนีไฟ, สัญญาณแจ้งเหตุไฟไหม้
- ตรวจสอบเส้นทางของยานพาหนะ และ เส้นทางของพนักงาน
- ตรวจสอบระบบรักษาความปลอดภัย
- อื่นๆ
|
|
|
บทบาทหน้าที่การเป็น จป. ในงานก่อสร้าง
- บทบาทหน้าที่ จป. ตามกฎหมายกำหนด
- การทำงานในบทบาทหน้าที่ ตามรูปแบบองค์กร ของงานก่อสร้าง
- การวางตัวสำหรับพนักงานทุกคนในโครงการก่อสร้าง
- ผู้บริหาร
- วิศวกร, ผู้ควบคุมงาน
- หัวหน้างาน
- พนักงาน, ผู้ปฏิบัติงาน
- เทคนิคการโน้มน้าว ผู้บริหาร, ผู้ควบคุมงาน, หัวหน้างาน, และพนักงาน ให้ปฏิบัติตามแผนงานความปลอดภัย และข้อบังคับด้านความปลอดภัยของโครงการ
- เทคนิคการเสนอแนะให้นายจ้าง (ผู้บริหารโครงการ) ปฏิบัติตามกฎหมาย และข้อบังคับโครงการ
- เทคนิคการรายงานความไม่ปลอดภัย (Unsafe action, Unsafe Condition) ให้ผู้บริหารตัดสินใจแก้ไข
- เทคนิคการสร้างบรรยากาศการทำงานให้ผู้ปฏิบัติงาน ให้ความร่วมมือในด้านความปลอดภัย
- เทคนิคการตีความกฎหมาย ระเบียบการ ข้อบังคับ ให้ผู้ปฏิบัติงานเข้าใจได้ง่ายๆ
- เทคนิคการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ เกี่ยวกับความปลอดภัย ในงานก่อสร้าง
- เทคนิคการแสดงความคิดเห็นในเรื่องความปลอดภัยบนพื้นที่ฐาน กฎหมาย, ระเบียบโครงการ และข้อบังคับด้านความปลอดภัย รวมทั้งมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง
- เทคนิคการอบรมให้ความรู้กับพนักงาน ที่ทำงานมีความเสี่ยง เช่น การทำงานบนที่สูง, การทำงานดูแลการจราจรของเครื่องจักรกลหนัก, การใช้เครื่องมือที่มีความเสี่ยง เช่น เครื่อง ตัด เจียร ตัดแก๊ส เป็นต้น
|
|
วันที่ 5
|
09.00-16.30 น.
|
- การจัดอบรม ให้ความรู้ตามสัญชาติคนงาน
- การกำหนดหัวหน้างาน ที่สื่อสารภาษาไทยได้
- การจัดทำป้ายเตือน ประกาศ ประชาสัมพันธ์ ตามภาษาของคนงานต่างด้าว
- การกำหนดสัญลักษณ์ กรณีมีหลายสัญชาติ ในโครงการเดียวกัน
- การเตรียมการสำหรับเหตุฉุกเฉิน การปฐมพยาบาล
- การวางแผนตามกฎหมายกำหนด เช่น แผนป้องกันอัคคีภัยในโครงการก่อสร้าง และบ้านพักคนงาน นำเสนอ ต่อผู้บริหารโครงการ
- การจัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันเหตุฉุกเฉิน และอุบัติเหตุ ให้กับพนักงาน
- การจัดตั้งทีมฉุกเฉินประจำโครงการ และอบรมตามหน้าที่ ที่ได้รับมอบหมาย
- กำหนดแผนผังการแจ้งเหตุฉุกเฉิน และอุบัติเหตุ
- จัดทำแผนการฝึกซ้อมเพื่อตอบโต้เหตุฉุกเฉิน อื่นๆ ที่มิใช่ไฟไหม้ เช่น สารเคมีหกรั่วไหล, อุบัติเหตุตกจากที่สูง, พนักงานได้รับบาดเจ็บจากการทำงาน เป็นต้น และนำเสนอต่อผู้บริหารโครงการ
- ตัวอย่างแผนฉุกเฉิน และการฝึกซ้อมแผนฉุกเฉิน
- การจัดการระบบรักษาความปลอดภัยของโครงการ
- จัดทำแผนงาน ระเบียบ ข้อบังคับของโครงการ นำเสนอต่อผู้บริหารโครงการเพื่อพิจารณา
- อบรมพนักงานรักษาความปลอดภัยในหน้าที่ ตามระเบียบการ
- ตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ และการให้ความร่วมมือจากพนักงานภายในโครงการ
- มาตรการบทลงโทษ สำหรับผู้ที่ฝ่าฝืนระเบียบ ข้อบังคับ
- การจัดทำเอกสาร เช่น ขอส่งพนักงานอบรม, การขอนำวัสดุอุปกรณ์ เข้า – ออก, รายงานเหตุการณ์ประจำวัน
- การรับเรื่องร้องเรียน และเหตุฉุกเฉินภายในโครงการ
- การจัดการด้านสิ่งแวดล้อม EIA
- ความหมายของ EIA
- การกำหนดแผนงานลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมตามมาตรการ EIA เสนอแนะต่อผู้บริหารโครงการ
- การอบรมให้ความรู้กับพนักงาน และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง
- แสดงความคิดเห็น และแบ่งหน้าที่ให้ผู้รับผิดดูแลตามแผนงาน และติดตามความคืบหน้า
- การกำกับดูแลให้ทุกกิจกรรมก่อสร้างมีความสอดคล้องตามมาตรการ EIA
- รายงานผลการดำเนินงานการป้องกันผลกระทบสิ่งแวดล้อม ให้ผู้บริหารโครงการทราบ
- ปรับปรุงสภาพกิจกรรม ปัญหา ที่ไม่สอดคล้องกับข้องกำหนด EIA
- เปิดช่องทางการรับเรื่องร้องเรียนจากภายนอก และสื่อสารไปยังผู้มีอำนาจตัดสินใจ
- เทคนิคการสื่อสารเรื่องร้องเรียนไปยังผู้มีอำนาจ เพื่อให้ได้รับการแก้ไข
- การจัดการด้านสังคม ชุมชนใกล้เคียง โครงการก่อสร้าง CSR
- การจัดทำแผนงานเพื่อป้องกันชุมชนร้องเรียน เสนอต่อผู้บริหารพิจารณา
- การจัดทีมประสานงาน ระหว่างโครงการและชุมชน
- การทำโครงการของบประมาณสนับสนุนกิจกรรมของชุมชน รอบข้าง
- การเข้าร่วมกิจกรรมที่ทางชุมชนจัดขึ้น
- การเปิดช่องทางรับเรื่องร้องเรียนจากชุมชน
- เทคนิคการสร้างสัมพันธ์ ระหว่างชุมชนและโครงการก่อสร้าง
- ตัวอย่างกิจกรรม CSR
|
|
7.วิธีบรรยาย
บรรยาย / ทำกิจกรรมกลุ่ม workshop / ชมคลิปวีดีโอ
8.วิธีการประเมินผลและเกณฑ์การวัดผล
แบบทดสอบหลังการอบรม / ระยะเวลาเข้ารับการอบรม 100 %
9.สิ่งที่ได้รับหลังการอบรม
วุฒิบัตรผ่านการอบรม