หลักการบริหารความปลอดภัยวิถีพุทธ
Safety Management on Buddhist Way
1.หลักการและเหตุผล
พุทธภาษิต “รกฺเขยฺยานาคตํ ภยํ : พึงป้องกันภัยที่ยังมาไม่ถึง”
สาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุและโรคจากการทำงานตามทฤษฎีโดมิโน่ เกิดจากปัจจัยหลัก 2 ประการคือ สภาพที่ไม่ปลอดภัย และการกระทำที่ไม่ปลอดภัย แต่สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการกระทำที่ไม่ปลอดภัยถึง 88% ดังนั้นการฝึกบุคลากรให้มีความพร้อมในการปฏิบัติงานเป็นสิ่งที่สำคัญยิ่ง หลักการในพุทธศาสนาให้ความสำคัญกับการฝึกตน (ฝึกคน) และเชื่อมั่นในศักยภาพของมนุษย์ถ้าได้รับการฝึกฝนเพียงพอทั้งทางกายและจิตใจก็มีสมรรถนะเพียงพอในการปฏิบัติงานด้วยความปลอดภัย การมีกัลยาณมิตรคือการได้อยู่ในสภาพแวดล้อมการทำงานที่ดี การได้เรียนรู้ที่ดีและถูกต้อง การได้ปฏิบัติตามมาตรฐานการปฏิบัติงานที่ปลอดภัย การที่ผู้บริหารมีนโยบายการปฏิบัติงานเพื่อความปลอดภัยที่ดี การได้รับความร่วมมือจากเพื่อนร่วมงานถือว่าเป็นหลักกัลยาณมิตรทางพุทธศาสนา ซึ่งหลักกัลยาณมิตรจะเป็นปัจัยทำให้ตัวเราได้เรียนรู้และมีความพร้อมในการบริหารจัดการงานที่ตัวเองรับผิดชอบได้ดีเช่นเดียวกัน ดังนั้นการบริหารความปลอดภัยก็จำเป็นอย่างยิ่งที่ตัวบุคลากรที่รับผิดชอบจะต้องฝึกฝนตนเองทั้งร่างกายและจิตใจให้มีความพร้อม การกระทำทางกายและวาจา ล้วนเกิดขึ้นจากใจเป็นตัวกำหนด ดังนั้นถ้าเราฝึกตนให้มีความรู้ทั้งทางความคิด ความพร้อมทางกายที่จะทำงาน และมีจิตใจซึ่งเป็นตัวกำหนดพฤติกรรมในเชิงบวกแล้ว การทำงานต่างๆ ก็จะบรรลุเป้าหมายได้เป็นอย่างดี การนำหลักการในพุทธศาสนามาประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการความปลอดภัยเป็นหลักการในการพัฒนาคนให้มีสมรรถนะเพียงพอทางจิตใจในการปฏิบัติงาน เพราะว่าถ้าจิตได้รับการฝึกฝนที่ดีและเหมาะสมแล้ว การกระทำย่อมดีด้วย บนพื้นฐานของหลักการที่ว่า อุบัติเหตุและโรคจากการทำงานเกิดจากการกระทำเป็นหลัก นั่นก็คือที่ตัวบุคคล ดังนั้นการป้องกันอุบัติเหตุและโรคจากการทำงานตามหลักพุทธศาสนาคือการพัฒนาคนเป็นพื้นฐานโดยมีศีล (วินัย/การปฏิบัติตามกฎระเบียบ/ข้อบังคับ) สมาธิ เพื่อการสะสมพลังจิตให้เข้มแข็ง การมีสติและสัมปชัญญะ รู้ตัวในขณะที่ทำงานและคาดการณ์ถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นได้ และมีปัญญา รอบรู้ในงานที่ทำ มีการวางแผน มีการประเมินความเสี่ยงในงานที่ทำ รู้จักสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้อง รู้วิธีการป้องกันอันตราย รู้วิธีการตรวจสอบ ประเมินและทบทวน (PDCA) ซึ่งเป็นหลักของการบริหารจัดการที่ทุกคนควรปฏิบัติ
ในปัจจุบันมีหลักการบริหารความปลอดภัยหลายระบบ เช่น มอก 18001, OHSAS 18001 ILO-OSHMS 2001 รวมทั้งกฎหมาย มาตรฐานความปลอดภัยต่างๆ เป็นต้น ซึ่งวิธีการเหล่านี้เป็นหนทางหรือมรรคาในการแก้ปัญหาคืออุบัติเหตุและโรคจากการทำงาน นอกจากนี้แล้วการบริหารความปลอดภัยยังต้องอาศัยหลักการมนุษย์สัมพันธ์ในองค์กร ความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้าง ลูกจ้าง ผู้บังคับบัญชา และเพื่อนร่วมงาน ก็เป็นปัจจัยเกื้อหนุนให้การบริหารความปลอดภัยบรรลุความสำเร็จเช่นเดียวกัน ซึ่งหลักการในพระพุทธศาสนาได้กล่าวไว้แล้ว ดังนั้นหลักสูตรนี้จึงได้นำหลักการบริหารความปลอดภัยในมุมมองของหลักการทางพุทธศาสนาว่าควรเป็นอย่างไร และหลักการในพุทธศาสนาจะนำไปเสริมหลักการบริหารความปลอดภัยได้อย่างไร
2.วัตถุประสงค์
- เพื่อนำหลักธรรมในพุทธศาสนาไปประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการความปลอดภัย
- เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบในงานความปลอดภัย บริหารตัวเองให้มีสมรรถนะเพียงพอในการปฏิบัติงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างเข้าใจ
3.คุณสมบัติผู้เข้ารับการอบรม /กลุ่มเป้าหมาย
- จป.ทุกระดับ / คปอ และผู้สนใจทั่วไป
4.วิทยากร
- นายสวินทร์ พงษ์เก่า (วิทยากรจิตอาสา)
หัวหน้ากองอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน ฝ่ายพัฒนาคุณภาพและความปลอดภัย การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
การปฏิบัติตนตามวิถีแห่งพุทธศาสนา
- อบรมหลักสูตร ครูสมาธิ รุ่น 34 สถาบันพลังจิตตานุภาพ วัดธรรมมงคล
- อบรมหลักสูตร อุตมสาสมาธิ รุ่น 1 สถาบันพลังจิตตานุภาพ วัดธรรมมงคล
5.ระยะเวลาอบรม
- 1 วัน (6ชั่วโมง)
6.หัวข้อบรรยาย
วันเสาร์ที่ 27 สิงหาคม 2559
08.00-08.30 ลงทะเบียน
08.30-09.00 การเตรียมความพร้อมก่อนการเข้าสู่บทเรียน
09.00-10.30 วิถีแห่งพุทธตามหลักอริยสัจ 4 กับหลักการควบคุมความสูญเสีย (Loss Causation Model)
10.30-10.45 พักรับประทานอาหารว่าง
10.45-12.00 การพัฒนาจิตสำนึกความปลอดภัยเพื่อให้มีความพร้อมในการปฏิบัติงาน
- การความสัมพันธ์กับหลักการ KYT อย่างไร
- การพัฒนาศักยภาพตัวเองให้มีสมรรถนะเพียงพอต่อการปฏิบัติงานตามหลักการไตรสิกขา ( ศีล สมาธิและปัญญา)
13.00-14.30 พักทานอาหารเที่ยง / Lunch
13.00-14.30 การทำ safety coaching เพื่อความปลอดภัยตามวิถีพุทธ
14.30-14.45 พักรับประทานอาหารว่าง
14.45-16.00 การลดอุบัติเหตุให้เป็นศูนย์ตามแนวพุทธศาสตร์
- หลักการอริยสัจ 4 เพื่อการป้องกันอุบัติเหตุ
- ทุกข์ (ปัญหา /อุบัติเหตุ/ความสูญเสีย/การเกิดโรคจากการทำงาน)
- สมุทัย (การค้นหาสาเหตุและการวิเคราะห์การเกิดอุบัติเหตุและโรคจากการทำงาน)
- นิโรธ (การไม่เกิดอุบัติเหตุ การไม่เกิดโรคจากการทำงาน)
- มรรค ( เครื่องมือปฏิบัติเพื่อไม่ให้เกิดอุบัติเหตุและโรคจากการทำงาน เช่น ระบบการจัดการมอก 18001 , OHSAS 18001 , SSOP, SP,WI ,การประเมินความเสี่ยง ฯลฯ)
16.00-16.15 ฝึกนั่งสมาธิเพื่อสะสมพลังจิต
16.15-16.30 มอบวุฒิบัตร
7.วิธีบรรยาย
- บรรยายใช้สื่อ power point / ฝึกปฏิบัตินั่งสมาธิ
8.วิธีการประเมินผลและเกณฑ์การวัดผล
- ระยะเวลาเช้ารับการอบรม 100 %
9.สิ่งที่ได้รับหลังการอบรม
- วุฒิบัตรผ่านการอบรม
< ย้อนกลับ | ถัดไป > |
---|