1.หลักการและเหตุผล
ปัญหาการเจ็บป่วยและบาดเจ็บของระบบกระดูกและกล้ามเนื้อเป็นอีกหนึ่งปัญหาที่ทำให้สถานประกอบกิจการสูญเสียเวลาการทำงาน ผลผลิตเสียหายไม่เป็นไปตามเป้าหมาย รวมถึงสูญเสียบุคลากรที่มีความรู้ ทักษะ และความสามารถขององค์การ เพราะไม่สามารถปฏิบัตงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ อันเนื่องมาจากปัญหาทางการยศาสตร์ที่มาจากการออกแบบพื้นที่การทำงาน สถานนีงาน รวมถึงท่าทางการทำงานของผู้ปฏิบัติงานไม่ถูกต้องเหมาะสม และนำไปสู่การบาดเจ็บและเจ็บป่วยดังกล่าว
ดังนั้นหลักสูตรการประเมินความเสี่ยงทางการยศาสตร์ จึงเป็นหลักสูตรที่สำคัญอย่างในการช่วยให้สถานประกอบกิจการสามารถประเมินปัญหาตั้งแต่เริ่มต้นก่อนที่จะเกิดการบาดเจ็บและเจ็บป่วยขึ้น ซึ่งเน้นการตระหนัก ประเมิน และควมคุมปัจจัยต่างๆ ที่ก่อให้เกิดปัญหาทางการยศาสตร์ โดยให้เครื่องมือมาตรฐานระดับสากล ในการประเมินความเสี่ยงทางการยศาตร์ ได้แก่ NIOSH Lifting Equation, RULA, REBA, ROSA, OWAS ซึ่งหากความเสี่ยงนั้นเกินกว่าค่ามาตรฐานที่กำหนด จะได้วางมาตรการในการแก้ไขและป้องกันด้วยการออกแบบสถานีงานให้ถูกต้องและเหมาะสมกับผู้ปฏิบัติงานก่อนที่จะเกิดปัญหาขึ้น ดังคำที่ว่า “Put the right job to the right man.”
2.วัตถุประสงค์
- เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความเข้าใจหลักการประเมินความเสี่ยงทางการยศาสตร์ได้อย่างถูกต้อง
- เพื่อให้ผู้เข้าฝึกอบรมสามารถใช้เครื่องมือการประเมินความเสี่ยงทางการยศาสตรได้อย่างถูกต้อง
- เพื่อให้ผู้เข้าฝึกอบรมสามารถเลือกเครื่องมือการประเมินความเสี่ยงทางการยศาสตร์ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
- เพื่อให้ผู้เข้าฝึกอบรมเข้าใจหลักการออกแบบสถานีงานเพื่อแก้ไขปัญหาทางการยศาสตร์ได้อย่างถูกต้อง
3.คุณสมบัติผู้เข้ารับการอบรม /กลุ่มเป้าหมาย
- จป.ทุกระดับ / คปอ และผู้สนใจทั่วไป
4.วิทยากร
- อาจารย์ กภ.อมร โฆษิดาพันธุ์
5.ระยะเวลาอบรม
- 2 วัน (12ชั่วโมง)
6.หัวข้อบรรยาย
วันศุกร์ที่ 2 กันยายน 2559
08.30-09.00 ลงทะเบียน
09.00-16.00
1) ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการยศาสตร์
2) กายวิภาคศาสตร์ สรีรวิทยาของมนุษย์ และชีวกลศาสตร์
3) หลักการทางการยศาสตร์ในการนั่ง ยืน เดิน ทำงาน
4) การยกเคลื่อนย้ายวัสดุด้วยมือ
5) การประเมินการยกเคลื่อนย้ายวัสดุด้วยมือ ด้วยวิธี NIOSH lifting equation
วันเสาร์ที่ 3 กันยายน 2559
6) การประเมินความเสี่ยงทางการยศาสตร์ ด้วยวิธี OWAS
7) การประเมินความเสี่ยงทางการยศาสตร์ ด้วยวิธี RULA
8) การประเมินความเสี่ยงทางการยศาสตร์ ด้วยวิธี REBA
9) การประเมินความเสี่ยงทางการยศาสตร์ ด้วยวิธี ROSA
10) การออกแบบสถานีงานเพื่อปรับปรุงปัญหาทางการยศาสตร์
16.00-16.30 มอบวุฒิบัตร
7.วิธีบรรยาย
- บรรยายใช้สื่อ power point และ Work shop
8.วิธีการประเมินผลและเกณฑ์การวัดผล
- ระยะเวลาเช้ารับการอบรม 100 %
9.สิ่งที่ได้รับหลังการอบรม
- วุฒิบัตรผ่านการอบรม