



การแต่งกายผู้เข้าอบรม : แต่งกายสุภาพ เหมาะสม กางเกงขายาว รองเท้าหุ้มส้น / รองเท้าเซฟตี้ (ไม่อนุญาตให้ใส่กางเกงขาสั้น และรองเท้าแตะเข้าอบรมทุกกรณี)


1. หลักการและเหตุผล
สมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน(ประเทศไทย) ได้รับการขึ้นทะเบียนให้เป็นหน่วยงานจัดอบรมหลักสูตร “ผู้ควบคุมประจำหม้อน้ำ หรือหม้อต้มที่ใช้ของเหลวเป็นสื่อนำความร้อน” จากกรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม ทะเบียนเลขที่ 111-100-009 เพื่อให้บริการจัดอบรมพนักงานให้มีคุณสมบัติเป็นไปตามข้อกำหนดของกฎกระทรวงแรงงานเกี่ยวกับการกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร ปั้นจั่น และหม้อน้ำ พ.ศ. 2552 ข้อ 87 นายจ้างต้องจัดให้มีผู้ควบคุมหม้อน้ำที่มีคุณสมบัติ (1) ผ่านการอบรมตามหลักสูตรผู้ควบคุมหม้อน้ำจากสถาบันของทางราชการ รัฐวิสาหกิจหรือสถาบันอื่น ทั้งนี้ ตามที่อธิบดีประกาศกำหนด และเพื่อให้สอดคล้องกับประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมเรื่อง มาตรการความปลอดภัยเกี่ยวกับหม้อน้ำและหม้อต้มที่ใช้ของเหลวเป็นสื่อนำความร้อน พ.ศ. 2549 หมวด 1 ข้อ 2 ผู้ควบคุมประจำหม้อน้ำหรือหม้อต้มที่ใช้ของเหลวเป็นสื่อนำความร้อน ต้องมีคุณสมบัติหน้าที่ความรับผิดชอบเป็นไปตามที่กำหนดในภาคผนวก 1 และต้องขึ้นทะเบียนกับกรมโรงงานอุตสาหกรรม ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมประกาศกำหนด
2. วัตถุประสงค์
2.1 เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโครงสร้าง อุปกรณ์ และส่วนควบคุมต่าง ๆ ของหม้อน้ำหรือหม้อต้มที่ใช้ของเหลวเป็นสื่อนำความร้อน
2.2 เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความตระหนักในบทบาทและหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้ควบคุมหม้อน้ำตามที่กฎหมายกำหนดไว้
2.3 เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้ ความเข้าใจในการปฏิบัติงานเพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับหม้อน้ำ
3. คุณสมบัติผู้เข้ารับการอบรม
ผู้มีหน้าที่ควบคุมประจำหม้อน้ำ อาทิ ช่างควบคุมประจำหม้อน้ำ ช่างซ่อมบำรุงหม้อน้ำ วิศวกรหม้อน้ำ และผู้สนใจทั่วไป
4. วิทยากรที่บรรยาย
1. วิทยากรที่ผ่านการรับรองจากกรมโรงงานอุตสาหกรรม
2. วิทยากรผู้เชี่ยวชาญจากกรมโรงงานอุตสาหกรรม
5. ระยะเวลาการฝึกอบรม
6 วัน (36 ชั่วโมง)
6. หัวข้อการฝึกอบรม
เวลาอบรม
|
หัวข้ออบรม
|
ระยะเวลาอบรม
|
วันที่ 1
09.00-12.00
|
ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับหม้อน้ำ
วัตถุประสงค์
- เข้าใจนิยามความหมายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับหม้อน้ำและไอน้ำ
- เข้าใจหลักการเกิด คุณสมบัติ และการใช้ประโยชน์จากไอน้ำ
- รู้จักพื้นฐานระบบหม้อน้ำ(Basic Boiler Room System) ระบบไอน้ำ(Steam System)
- ระบบน้ำป้อน(Feed Water System) ระบบเชื้อเพลิง(Fuel System) และระบบลมช่วยเผาไหม้(Draft System)
- การกำหนดขนาด คุณลักษณะเฉพาะ(Specification) และประสิทธิภาพหม้อน้ำ
|
3 ชั่วโมง
|
12.00-13.00
|
พักทานอาหารกลางวัน
|
1 ชั่วโมง
|
13.00-16.30
|
ประเภทหม้อน้ำ โครงสร้าง และส่วนประกอบ
วัตถุประสงค์
- รู้จักหม้อน้ำประเภทต่าง ๆ (Steam boiler types)
- รู้จักโครงสร้างและส่วนประกอบของหม้อน้ำประเภทต่าง ๆ
- สามารถเปรียบเทียบข้อดี ข้อเสีย ของหม้อน้ำแต่ละประเภท
- เข้าใจพื้นฐานการสร้างหม้อน้ำตามมาตรฐานสากล
- ทราบและตระหนักถึงอันตรายของหม้อน้ำ ประวัติการเกิดอุบัติเหตุและการชำรุดเสียหายต่าง ๆ แยกตามประเภทหรือโครงสร้างหม้อน้ำ
|
3 ชั่วโมง
|
วันที่ 2
09.00-12.00
|
ระบบควบคุมและอุปกรณ์ความปลอดภัยสำหรับหม้อน้ำ
วัตถุประสงค์
- ทราบถึงหน้าที่การทำงานของระบบควบคุมและอุปกรณ์ความปลอดภัยที่จำเป็นสำหรับหม้อน้ำ การติดตั้งที่เป็นไปตามมาตรฐานหรือตามที่กฎหมายกำหนด
- สามารถใช้งาน ตรวจสอบ บำรุงรักษาอุปกรณ์ความปลอดภัย อย่างถูกต้องตามหลักวิศวกรรม
|
3 ชั่วโมง
|
12.00-13.00
|
พักทานอาหารกลางวัน
|
1 ชั่วโมง
|
13.00-14.30
|
ระบบควบคุมและอุปกรณ์ความปลอดภัยสำหรับหม้อน้ำ (ต่อ)
วัตถุประสงค์
- รู้ถึงปัญหา สาเหตุการชำรุดบกพร่องของระบบควบคุมหรืออุปกรณ์ความปลอดภัยกรณีตัวอย่างที่ทำให้หม้อน้ำเกิดอันตรายและความเสียหาย เช่นในกรณีความดันไอน้ำสูงเกินไป(Over Pressure) หม้อน้ำร้อนจัด(Over Heat) การระเบิดในห้องเผาไหม้(Furnace Explosion)
|
1.5 ชม.
|
14.45-16.30
|
เชื้อเพลิงและการเผาไหม้ (ทฤษฎีและหลักการเผาไฟไหม้)
วัตถุประสงค์
- รู้จักประเภทและคุณสมบัติของเชื้อเพลิงเหลวและก๊าซ การกำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันเตา
- รู้เกี่ยวกับคุณสมบัติของเชื้อเพลิงแข็งต่าง ๆ การเก็บและการลำเลียงเชื้อเพลิงให้ปลอดภัยและไม่ก่อปัญหามลภาวะ
- รู้หลักการเผาไหม้ที่สมบูรณ์ที่มีผลต่อการประหยัดเชื้อเพลิง ความสัมพันธ์ขององค์ประกอบ ๓ ประการคือ การผสมคลุกเคล้าระหว่างเชื้อเพลิง-อากาศระยะเวลาในการเผาไหม้ และอุณหภูมิในห้องเผาไหม้
|
1.5 ชม.
|
วันที่ 3
09.00-10.30
|
การเผาไหม้เชื้อเพลิงเหลว และก๊าซ
วัตถุประสงค์
- รู้จักระบบน้ำมันเชื้อเพลิง(Fuel Oil Systems) ระบบก๊าซเชื้อเพลิง
(Fuel Gas Systems)
- สามารถอธิบายหลักการทำงานของหัวเผาน้ำมันและก๊าซแบบต่าง ๆ เปรียบเทียบข้อดี-ข้อเสีย แต่ละแบบ
- รู้จัก ระบบควบคุมการเผาไหม้แบบต่าง ๆ และสามารถเปรียบเทียบ ข้อดี ข้อเสีย ของระบบควบคุมแบบต่าง ๆ
- รู้ถึงอันตรายและการป้องกันการระเบิดในห้องเผาไหม้ และหลักการทำงานของระบบและอุปกรณ์ความปลอดภัยของหัวเผา
- รู้ถึงปัญหาข้อบกพร่องต่าง ๆ ของหัวเผา สาเหตุ และวิธีการแก้ไข
|
1.5 ชม.
|
10.45-12.00
|
การเผาไหม้เชื้อเพลิงแข็ง
วัตถุประสงค์
- รู้จักระบบเชื้อเพลิงแข็ง(Fuel Solid Systems) และสามารถอธิบายหลักการทำงานข้อดีข้อเสีย และประสิทธิภาพของอุปกรณ์การเผาไหม้เชื้อเพลิงแข็งแบบต่าง ๆ
- รู้ปัญหาและสาเหตุการระเบิดในห้องเผาไหม้ วิธีการป้องกันหรือการลดความเสียหายของอุปกรณ์ความปลอดภัยสำหรับระบบเผาไหม้เชื้อเพลิงแข็ง
- รู้ปัญหาและสาเหตุการเกิดมลภาวะต่าง ๆ จากเชื้อเพลิงแข็ง ทั้งในขณะขนส่ง การเก็บ การลำเลียงสู่ห้องเผาไหม้ และขณะเผาไหม้
- รู้จักอุปกรณ์หรือวิธีการควบคุมมลภาวะแบบต่าง ๆ
|
1.5 ชม.
|
13.00-16.30
|
น้ำสำหรับหม้อน้ำ
วัตถุประสงค์
- รู้ถึงสิ่งเจือปนในน้ำกับปัญหาที่เกิดขึ้นกับหม้อน้ำ
- รู้ขั้นตอน วิธีการล้างหม้อน้ำ ล้างตะกรัน โดยใช้สารเคมีที่ถูกต้อง
- รู้ถึงมาตรฐานคุณสมบัติของน้ำป้อนและน้ำในหม้อน้ำ ที่เหมาะสมกับชนิดหม้อน้ำและความดันไอน้ำ
- รู้ขั้นตอน วิธีการปรับสภาพน้ำสำหรับหม้อน้ำ (Boiler Water Treatment) การปรับสภาพน้ำภายนอกหม้อน้ำ(External Water Treatment) และภายในหม้อน้ำ (Internal Water Treatment)
- รู้วิธีการเก็บตัวอย่างและการตรวจคุณสมบัติน้ำเบื้องต้น สามารถดูแล บำรุงรักษา ฟื้นฟูอุปกรณ์ปรับสภาพน้ำให้มีประสิทธิภาพอยู่เสมอและควบคุมดูแล คุณสมบัติน้ำป้อนและน้ำในหม้อน้ำให้เป็นไปตามกฎหมายหรือมาตรฐาน
|
3 ชม.
|
วันที่ 4
09.00-12.00
|
การใช้ไอน้ำและการประหยัดพลังงานความร้อน (Energy Conservation)
วัตถุประสงค์
- รู้ปัญหาที่เกิดจากไอน้ำและคอนเดนเสท การรั่วไหลหรือการสูญเสียพลังงานจากสาเหตุต่าง ๆ กรณีตัวอย่างการเกิดอุบัติเหตุ
- รู้จักระบบไอน้ำ(Steam System) และระบบคอนเดนเสท (Condensate System)
- การเดินท่อ การติดตั้งอุปกรณ์ใช้ไอน้ำ(Piping &Equipment Systems)ที่ถูกต้องตามหลักวิศวกรรม
- รู้หน้าที่ หลักการทำงาน การติดตั้ง การใช้งาน การตรวจสอบ และบำรุงรักษาอุปกรณ์ประหยัดพลังงานต่าง ๆ เข้าใจหลักการและเทคนิคการประหยัดพลังงานไอน้ำ การนำความร้อนที่เหลือกลับมาใช้ใหม่
- รู้คุณสมบัติ การเลือกใช้และวิธีติดตั้งฉนวนกันความร้อน
|
3 ชม.
|
13.00-16.30
|
การใช้งาน การตรวจสอบและบำรุงรักษาหม้อน้ำ
(Operation and Maintenance)
วัตถุประสงค์
- รู้หลักความปลอดภัยในการปฏิบัติงานกับหม้อน้ำ(Boiler room safety) ขั้นตอนการปฏิบัติงานที่ปลอดภัย การตรวจสอบก่อนจุดเตา วิธีการจุดเตา วิธีการดับเตา ขั้นตอนการปฏิบัติงานเมื่อเกิดภาวะฉุกเฉิน
- รู้วิธีการควบคุมการเดินเครื่อง การตรวจสอบการทำงานของอุปกรณ์ตรวจวัดการทดสอบการทำงานของอุปกรณ์ความปลอดภัยขณะเดินเครื่อง
- สามารถตรวจสอบและบำรุงรักษาหม้อน้ำประจำวัน ประจำเดือน ประจำปี และการจัดทำบันทึกรายงานประจำวัน
- รู้วิธีการเก็บรักษาหม้อน้ำที่ถูกต้อง
|
3 ชม.
|
วันที่ 5
09.00-12.00
|
หม้อต้มที่ใช้ของเหลวเป็นสื่อนำความร้อน [Thermal Oil Boiler, Hot Oil Boiler, Thermal Fluid Heater] และหม้อน้ำร้อน (Hot Water Boiler)
วัตถุประสงค์
- เข้าใจความหมาย นิยาม และหลักการทำงานของระบบหม้อต้มที่ใช้ของเหลวเป็นสื่อนำความร้อน และหม้อน้ำร้อน
- ทราบถึงลักษณะของหม้อต้มที่ใช้ของเหลวเป็นสื่อนำความร้อน และหม้อน้ำร้อนโครงสร้าง อุปกรณ์ความปลอดภัย ระบบการทำงาน และการใช้งาน การควบคุมดูแลการตรวจสอบ และบำรุงรักษาให้ปลอดภัย
- มีความรู้เกี่ยวกับของเหลวที่ใช้เป็นสื่อนำความร้อนประเภทต่าง ๆ คุณสมบัติที่ดีของสื่อนำความร้อน และการตรวจสอบคุณสมบัติหลังการใช้งาน
- ตะหนักถึงอุบัติเหตุอันตราย โดยศึกษากรณีตัวอย่างการเกิดอุบัติเหตุ รู้ถึงสาเหตุ และการป้องกัน
|
3 ชม.
|
13.00-16.30
|
การดูงานภาคสนาม
วัตถุประสงค์
- รู้จักระบบการติดตั้งหม้อน้ำ ระบบไอน้ำ ระบบน้ำป้อน ระบบเชื้อเพลิง และระบบลมช่วยเผาไหม้ในสถานที่จริง
- รู้จักระบบควบคุมและอุปกรณ์ความปลอดภัยสำหรับหม้อน้ำ และหม้อต้มที่ใช้ของเหลวเป็นสื่อนำความร้อนในสถานที่จริง
- รู้ขั้นตอน วิธีการปฏิบัติงานที่ปลอดภัยเกี่ยวกับหม้อน้ำ และหม้อต้มที่ใช้ของเหลวเป็นสื่อนำความร้อน ทั้งก่อนการติดเตา ขณะใช้งาน และเมื่อเกิดความผิดปกติหรือเกิดภาวะฉุกเฉินต่าง ๆ
- รู้วิธีการตรวจสอบการทำงานของอุปกรณ์ตรวจวัด อุปกรณ์ความปลอดภัยในขณะเดินเครื่อง และการจัดทำบันทึกรายงานประจำวันในสถานที่จริง
|
3 ชม.
|
วันที่ 6
09.00-12.00
|
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับหม้อน้ำและหม้อต้มที่ใช้ของเหลวเป็นสื่อนำความร้อน
วัตถุประสงค์
- รู้กฎหมายด้านความปลอดภัย สิ่งแวดล้อมและพลังงานเกี่ยวกับหม้อน้ำ และหม้อต้มที่ใช้ของเหลวเป็นสื่อนำความร้อน ของหน่วยราชการต่าง ๆ ได้แก่ กระทรวงอุตสาหกรรม
- (กรมโรงงานอุตสาหกรรม) กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม (กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน) กระทรวงพลังงาน (กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน) และ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (กรมควบคุมมลพิษ)
|
3 ชม.
|
13.00-16.30
|
การสอบมาตรฐาน โดยสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย
(วว.)
- มีความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติงานเกี่ยวกับหม้อน้ำหรือหม้อต้มที่ใช้ของเหลวเป็นสื่อนำความร้อนที่ถูกต้องตามหลักวิศวกรรม เป็นไปตามเกณฑ์ที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมกำหนด
- ได้รับใบรับรองผ่านการอบรมหลักสูตรผู้ควบคุมประจำหม้อน้ำหรือหม้อต้มที่ใช้ของเหลวเป็นสื่อนำความร้อน สามารถขึ้นทะเบียนเป็นผู้ควบคุมประจำหม้อน้ำหรือหม้อต้มที่ใช้ของเหลวเป็นสื่อนำความร้อนประจำโรงงานตามกฎหมาย
- ผู้ที่ผ่านการอบรมและผ่านการทดสอบมาตรฐาน สามารถนำวุฒิบัตรไปยื่นขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้ควบคุมประจำหม้อน้ำต่อกรมโรงงานอุตสาหกรรม
|
3 ชม.
|
7. วิธีการอบรม
บรรยาย กรณีศึกษาและศึกษาดูงานระบบการทำงานหม้อน้ำในสถานประกอบกิจการ
8. วิธีการประเมินผลและเกณฑ์การวัดผล
8.1 เข้าอบรมต้องเข้าร่วมไม่น้อยกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ของระยะเวลาในการอบรม
8.2 ทดสอบหลังการอบรมโดยต้องผ่านเกณฑ์การทดสอบ 60 เปอร์เซ็นต์
9. สิ่งที่ได้รับหลังการอบรม
วุฒิบัตรผ่านการอบรม
ใบอนุญาตจัดฝึกอบรม