Safety and Health at Work Promotion Association (Thailand) Under Her Royal Highness Princess Maha Chakri Sirindhorn Patronage

welcome to the website

logo 02

Safety and Health at Work Promotion Association (Thailand) Under Her Royal Highness Princess Maha Chakri Sirindhorn Patronage

        It is an organization established by the resolution of the Cabinet. Committed to develop human resources in terms of occupational safety, health and working environment by providing technical , training, and information services with quality and continuous improvement for the customers’ highest satisfaction. As Her Royal Highness Princess Maha Chakri Sirindhorn is concerned about workers who suffer from occupational hazards and has stated that the workers who came into the recovery process did not happen. If the workplaces arrange the proactive methodology to harm and create safety for workers working in each workplace. Therefore, work-related accidents should be prevented. So that the worker will not have to be injured or disabled.

"Thai culture, Safety culture"

SHAWPAT News
+

การสอบสวนอุบัติเหตุ

วัตถุประสงค์

  • เพื่อศึกษาและค้นหาสาเหตุ ของการเกิดอุบัติเหตุ และสภาพการณ์ที่เป็นอันตรายต่าง ๆ 
  • เพื่อเป็นแนวทางในการป้องกันอุบัติเหตุ โดยอาศัย การแก้ไข และปรับปรุงที่ถูกต้อง
  • เพื่อพิจารณาค้น หาความจริง ที่เป็นมูลเหตุที่ทำให้คนงาน ทำงานในลักษณะของการกระทำที่ไม่ปลอดภัยหรือไม่ถูก ต้อง ตามข้อบังคับ อันจะ ก่อให้เกิดอุบัติเหตุ
  • เพื่อให้ทราบถึงผลของการเกิดอุบัติเหตุ การบาดเจ็บ ตลอดทั้งความเสียหายต่าง ๆ เพื่อเป็นข้อมูล เป็นการกระตุ้น ให้ผู้ที่เกี่ยวข้องเพิ่มความสน ใจในการป้องกัน
  • เพื่อประโยชน์ในการเก็บรวบรวมทางสถิติและการวิเคราะห์อุบัติเหตุ

ผู้รับผิดชอบในการสอบสวนอุบัติเหตุ

  • ผู้ควบคุมงาน รับผิดชอบในการควบคุมดูแลการทำงานของคนงาน ให้ถูกวิธี มีความปลอดภัย เป็นไปตามกฎข้อบัง คับ ของโรงงาน เหมาะสม ในการสืบสวนอุบัติเหตุอย่างมีประสิทธิภาพ 
  • เจ้าหน้าที่ความปลอดภัย เกี่ยวข้องกับการป้องกันอุบัติเหตุ และเสริมสร้างความปลอดภัยในการทำงานโดยตรง ต้อง มีความรู้และประสบการณ์ ในด้านนี้ จึงจะทำงาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

หลักสำคัญในการสอบสวน

  • ผู้สอบสวน ต้องมีความคิดอ่านและสามัญสำนึกที่ชัดแจ้งเป็นรูปธรรม 
  • ผู้สอบสวน ต้องมีความรู้กับขบวนการผลิตคุ้นเคยกับเครื่องจักร คนงาน ตลอดจนสภาพแวดล้อม ต่างๆ ของแผนก ที่เกิดอุบัติเหตุ 
  • ผู้สอบสวน ไม่ควรเป็นผู้ใต้บังคับบัญชา ของหัวหน้างาน หรือผู้ควบคุมงานในแผนกที่เกิดอุบัติเหตุ 
  • การสอบสวนต้องทำทันทีที่เกิดอุบัติเหตุ หรือโดยเร็วที่สุด เพื่อที่จะได้ข้อเท็จจริงที่ถูกต้อง สิ่งต่าง ๆ ที่อาจก่อ อุบัติเหตุ ต้องสอบสวนอย่างละเอียด ควรกระทำเป็นกลุ่ม หรือ คณะทำงาน เพื่อให้ได้สาเหตุที่แท้จริง การสอบ สวน จะเสร็จสมบูรณ์ เมื่อมีการทำรายงาน และเสนอแนวทางแก้ไข

ผลที่ได้จากการสอบสวน

  • เกิดเหตุการณ์อะไรขึ้น
  • ทำไมถึงเกิดเหตุการณ์นั้น
  • ใครจะเป็นผู้ที่เหมาะสมที่สุดในการแก้ไขป้องกันอุบัติเหตุในครั้งนี้
  • มีข้อเสนอแนะอะไรบ้าง
  • จะดำเนินการตามที่เสนอแนะได้เร็วเพียงใด

การบันทึกและรายงานอุบัติเหตุ

วัตถุประสงค์

  • เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลและสถิติในการเกิดอุบัติเหตุ การจ่ายเงินทดแทน การวิเคราะห์และสอบสวนอุบัติเหตุ
  • เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินการป้องกันอุบัติเหตุ

หลักการบันทึกและสอบสวน

  • ต้องบันทึกและรายงานการเกิดอุบัติเหตุทุกครั้ง
  • รายงานต้องประกอบด้วยหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์เหตุการณ์ การสอบสวนสาเหตุ ข้อเสนอแนะในการแก้ไข และการสั่งการของฝ่ายบริหาร
  • รายงานจะต้องมีลักษณะง่ายต่อการรวบรวมหรือแยกประเภทตามลักษณะสาเหตุหรือการบาดเจ็บหรือเพื่อ ประโยชน์ ใน ทางสถิติ และทางอื่น ๆต่อไป

ประเภทของรายงาน
รายงานอุบัติเหตุ แบ่งได้เป็น 4 ประเภท

  • รายงานการปฐมพยาบาล เกี่ยวกับการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุจากห้องพยาบาลของโรงงาน หรือ จากสถาน พยาบาล ภายนอก
  • รายงานอุบัติเหตุของหัวหน้างาน หรือ ผู้ควบคุมงาน ซึ่งทำทุกครั้งหลังการเกิดอุบัติเหตุ
  • รายงานอุบัติเหตุประจำเดือน ในลักษณะของ
    • รายงานสรุปเป็นผลวิเคราะห์รวมตามแบบฟอร์ม หรือเป็นผังแสดง
    • รายงานของแต่ละแผนก หรือของคณะกรรมการความปลอดภัย
    • รายงานแสดงรายละเอียดที่จำเป็นจ่อการคำนวนหาความถี่ของการเกิดอุบัติเหตุ และ อัตราความรุนแรง ของ อุบัติเหตุ
  • รายงานสรุปประจำปี
    • เพื่อแสดงแนวโน้มของอุบัติเหตุ และการดำเนินการด้านความปลอดภัยระหว่างปี
    • เพื่อการเปรียบเทียบ กับสถิติอุบัติเหตุในปีที่ผ่าน ๆ มา และการคาดการสำหรับอนาคต

ลักษณะและรายละเอียดในรายงาน  ต้องมีรายละเอียดครบถ้วนดังนี้

  • รายละเอียดของผู้ที่ได้รับบาดเจ็บ เช่นชื่อ อายุ เพศ แผนกที่สังกัด สถานที่ของแผนก ลักษณะงานที่ทำ ประสบการณ์ หรืออายุงานในแผนก
  • รายละเอียดเกี่ยวกับการประสบอันตราย
  • ชนิดของวัตถุ หรือสารที่ทำให้เกิดอันตราย ต้องระบุชื่อของสิ่งนั้นเลย
  • รายละเอียดเกี่ยวกับอุบัติเหตุ แบ่งแยกเป็นคำถามย่อยลำดับเหตุการณ์ เพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับ
    • งานที่ทำขณะเกิดอุบัติเหตุ ควรกำหนดลักษณะการกระทำที่ เฉพาะลงไป ในขณะเกิดอุบัติเหตุ ตลอดจนระบุถึง วัสดุ เครื่องมือ หรืออุปกรณ์ที่กำลังใช้อยู่
    • เกิดอะไรขึ้น ต้องอธิบายให้ได้ว่า อันตรายเกิดขึ้นได้อย่างไร
  • ข้อเสนอแนะและความเห็นของผู้สอบสวนเพื่อแสดงให้เห็นข้อผิดพลาดในการทำงาน

สรุป
การบันทึก และ สอบสวนอุบัติเหตุต้องครอบคลุมรายละเอียดดังนี้

Who : ผู้ได้รับบาดเจ็บ

When : เวลาที่เกิดอุบัติเหตุ

Where : สถานที่ หรือบริเวณที่เกิดอุบัติเหตุ

What : บรรยายรายละเอียดของเหตุการณ์ว่าเกิดอะไรขึ้น

How : คนงานได้รับบาดเจ็บอย่างไร

Why : ทำไมถึงเกิดอุบัติเหตุขึ้น

Thailand Vision Zero

 

SHAWPAT  is committed to promoting and developing occupational safety, health and well-being of Thai workers. Therefore, the VISION

ZERO  strategy is introduced as an important tools in creating a preventive safety culture for sustainability.

   Read more      www.thailandvisionzero.com