ความเป็นมาของการจัดงานสัปดาห์ความปลอดภัยในการทำงานแห่งชาติ
เมื่อช่วงเดือนตุลาคม ปี พ.ศ.2528 ได้มีการหารือระหว่างหัวหน้าส่วนราชการเกี่ยวกับการพัฒนางานความปลอดภัยในการทำงาน ต่างเห็นพ้องต้องกันว่า นอกจากกฎหมาย การตรวจแรงงาน การศึกษาวิจัย การทดสอบวิเคราะห์ปัญหาสภาพแวดล้อมในการทำงาน และการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารแล้วสมควรจะมีกิจกรรมเสริมโดยการจัดงาน “สัปดาห์ความปลอดภัยในการทำงาน” ระดับประเทศเป็นประจำทุกปี เพื่อเป็นกิจกรรมรณรงค์ส่งเสริม ประชาสัมพันธ์ กระตุ้นจิตสำนึกให้เกิดความปลอดภัยในการทำงานในประเทศไทย อีกทั้งยังให้เป็นศูนย์กลางของกลุ่มบุคคลและองค์กรที่เกี่ยวข้อง ตั้งแต่นายจ้าง ลูกจ้าง ผู้บริหาร นักวิชาการ เจ้าหน้าที่ และประชาชนทั่วไป ให้มาพบปะแลกเปลี่ยนประสบการณ์ วิชาการ แนวคิด วิธีการแก้ไขปัญหา และเป็นแหล่งแสดงผลงานวิชาการด้านความปลอดภัยที่ประสบความสำเร็จในสถานประกอบการ เพื่อการเผยแพร่ให้ผู้ที่เกี่ยวข้องได้ตระหนักถึงความสำคัญของคนทำงาน ความเสียหายและความทุกข์ของคนที่ได้รับอันตรายจากการทำงาน รวมถึงความเสียหายจากทุกคนที่มีส่วนได้รับจากการนั้นด้วย
การจัดงานสัปดาห์ความปลอดภัยในการทำงานแห่งชาติ ได้ดำเนินการจัดงานมาอย่างต่อเนื่องทุกปี และในปี 2559 นับเป็นครั้งที่ 30 สสปท.ได้รับการส่งมอบจากกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เพื่อดำเนินการจัดงานดังกล่าวร่วมกับสมาคมฯ อย่างต่อเนื่อง ภายใต้ชื่องานใหม่ว่า "งานความปลอดภัยและอาชีวอนามัยแห่งชาติ" Thailand Safe@work อ่านต่อ...
![]() | ![]() | ![]() |
![]() |
งานความปลอดภัยและอาชีวอนามัยแห่งชาติ ครั้งที่ 33
|
![]() |
งานความปลอดภัยและอาชีวอนามัยแห่งชาติ ครั้งที่ 32
|
![]() |
งานความปลอดภัยและอาชีวอนามัยแห่งชาติ ครั้งที่ 31
|
![]() |
งานสัปดาห์ความปลอดภัยในการทำงานแห่งชาติ ครั้งที่ 30
|
![]() |
งานสัปดาห์ความปลอดภัยในการทำงานแห่งชาติ ครั้งที่ 29
|
![]() |
งานสัปดาห์ความปลอดภัยในการทำงานแห่งชาติ ครั้งที่ 28
|
![]() |
งานสัปดาห์ความปลอดภัยในการทำงานแห่งชาติ ครั้งที่ 27
|
![]() |
งานสัปดาห์ความปลอดภัยในการทำงานแห่งชาติ ครั้งที่ 26
|
![]() |
งานสัปดาห์ความปลอดภัยในการทำงานแห่งชาติ ครั้งที่ 25
|